Social Icons

ลิฟท์หน้า บอกลาเหนียงด้วยเครื่อง “Sonoqueen”

Sonoqueen – 80 ช็อต ราคาเพียง 7,900 (จากปกติ 13,000 บาท) Sonoqueen – บุฟเฟ่ ราคาเพียง 39,000 (จากปกติ 59,900 บาท)

MonoLisa Touch

เลเซอร์กระชับจุดซ่อนเร้น MonoLisa Touch ราคาพิเศษ 9,999 บาท จากราคาปกติ 15,000 บาท

“สบายกระเป๋า”

“แพ็คคู่อกอึ๋ม” มาคู่ ก็อึ๋มคู่ในราคาเบาๆ สบายกระเป๋า ด้วยซิลิโคนทรงกลมเกรดA

เลเซอร์ลดฝ้า – กระ ด้วย Medlite

เลเซอร์ลดฝ้า – กระ ด้วย Medlite เครื่องเลเซอร์ที่ปล่อยพลังงานแสงออกมาเพื่อทำให้สัมผัส ผิวใบหน้าเนียนใส ไร้จุดด่างดำ ปาน ลบรอยแผลเป็นด้วย Medlite

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

นอนไม่หลับ โรคฮิตคนบันเทิง - เปรียบมวย


การนอน คือการพักผ่อนที่ดีที่สุด หากร่างกายไม่ได้พักผ่อน ผลเสียที่ตามมาก็มีมากมาย คนหลากหลายอาชีพมักประสบปัญหาโรคนอนไม่หลับ โดยเฉพาะอาชีพในวงการบันเทิง วันนี้ “เปรียบมวย” ได้พูดคุยกับ 2 นักแสดงคนดังที่ประสบปัญหานี้ อย่างพระเอกสุดฮอต อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม และนักแสดงสาวคนดัง แตงโม-ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ ที่จะได้มาแชร์ประสบการณ์ และบอกเล่าถึงวิธีการดูแลตัวเอง

อนันดา อยู่กับโรคอย่างเข้าใจ

อนันดา เป็นพระเอกที่มีงานให้เห็นบนจออย่างต่อเนื่อง คิวงานแน่น ทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับ ตั้งแต่อายุ 17-18 ปี ต้องปรึกษาจิตแพทย์ตั้งแต่อายุยังน้อย สาเหตุก็เกิดจากความเหนื่อย และเอาความท้อแท้มาผสมกันก็จะกลายเป็นความลำบาก กลายเป็นความทุกข์ ความเศร้า และยิ่งทำงานอยู่ในอาชีพที่พักผ่อนไม่เป็นเวลา แต่เพื่อแลกกับอะไรที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต ก็ต้องทำความเข้าใจมากกว่าการมาท้อแท้เพราะอาการป่วย และหาวิธีเดินหน้ากับชีวิตให้ได้

“หมออธิบายให้ฟังว่า ร่างกายของเรามันทำงานยังไง ปล่อยสารที่ทำให้เราง่วงเมื่อไหร่ ช่วงไหนคือช่วงที่ร่างกายระเหยความร้อน เพื่อที่เราจะได้นอน นี่คือธรรมชาติของคน แต่คุณฝืนธรรมชาติ ถ้าจะแก้ไขมันก็ต้องเข้าใจว่าคุณสะสมมาเป็นหลายปีแล้วแบบจะข้ามคืนกลายเป็นคนปกติ ก็เป็นไปไม่ได้ มันต้องมีวินัย ปรับตัวเอง เหมือนค่อย ๆ แก้ทีละปม ๆ ไป แล้วเดี๋ยวมันก็ค่อยกลับมาเป็นปกติเอง อาชีพที่ผมเป็นก็ต้องทำใจ เพราะคงไม่ได้นอนเหมือนคนอื่นเขา ซึ่งมันเป็นโรคปกติของคนที่ทำงานวงการนี้ มันไม่ใช่แค่ผมหรอก มันเป็นกันหมดทุกคนแหละ และยิ่งทุกวันนี้ในโทรศัพท์ก็มีอะไรเยอะ เดี๋ยวไลน์ดัง  ปิ๊ง ๆ มันก็คิดอยู่นั่นแหละ มันหลับยากขึ้น มีตัวก่อกวนมากขึ้น คนที่โชคดีคือคนที่ตัดออกได้หมด แล้วนอนเลย แต่ผมเชื่อว่าน้อยคนในวงการที่แบบหัวถึงหมอนแล้วหลับได้จริง”

ด้วยความที่เป็นโรคนี้มานาน ก็ต้องหาข้อมูลศึกษาเกี่ยวกับอาการของตัวเอง ทำให้อนันดาเข้าใจและอยู่กับมันได้อย่างไม่มีปัญหา  แต่เขาก็ยอมรับว่าบางครั้งก็ต้องพึ่งยานอนหลับบ้างเหมือนกัน  “กินยาก็มีบ้างบางครั้ง ถ้าจำเป็นจริง ๆ งานสำคัญขอไม่เสี่ยงไว้ก่อน ไม่ต้องมาลุ้นว่าจะหลับหรือไม่หลับ เหนื่อยจริงก็ต้องหลับแล้ว ถ้าไม่หลับ และคิวพรุ่งนี้ต้องลุยต่อ 24 ชั่วโมง บางทีมันก็ต้องมีดักไว้ก่อน เราก็จะคำนวณของเราเองว่าแบบนี้เท่านี้พอ คนเรามันไม่เหมือนกัน ยาพวกนี้มันไม่ได้เอฟเฟกต์ทุกคนเท่ากันหมด บางทีต้องใจเย็น เพราะเราก็ต้องรู้ว่าอะไรมันเหมาะสำหรับตัวเรา คือถ้าให้กินยา 2 วันติด มันก็เบลอ มันก็เปล่าประโยชน์อยู่ดี ทุกอย่างคือคุณต้องรู้จักร่างกายตัวเอง คือความพอดี”

หากถามถึงข้อแนะนำ อนันดา บอกว่า ต้องเข้าใจก่อน ว่ามันไม่ได้เป็นโรคที่คลี่คลายใน 1 วันได้ อย่าเพิ่งกังวล ลุกไปดื่มน้ำสักแก้วกิน ไปเปิดหนังสืออ่าน ทำอะไรก็ได้ ให้ออกไปจากภาวะนั้น อย่าหมกมุ่นกับการนอนไม่หลับ วิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขระบบของชีวิตก็คือตอนถึงเวลาตื่น ฝืนตื่นขึ้นมาซะ ลองทำอย่างนี้ประมาณสักอาทิตย์หนึ่ง แล้วพอตอนค่ำมา พอถึงจุดหนึ่งคุณจะเพลียและหลับเอง แต่ถ้านอนไม่หลับแล้วยังตื่นสายอีก มันก็ไม่หาย วัฏจักรก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ส่วนเรื่องยาเราไม่แนะนำให้ไปซื้อเอง เพราะยาพวกนี้เราไม่ควรกินเกิน 3-4 วันติดกัน ต้องไปหาหมอ ดีกว่า

แตงโม ปรับพฤติกรรมช่วยให้หลับได้

แตงโม เปิดฉากเล่าถึงอาการนอนไม่หลับว่า เริ่มมาจากการพยายามนอนแล้วนอนไม่หลับ ร่างกายเพลีย สมองหลั่งสารอะไรบางอย่างที่ทำให้สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นมานานนับ 10 ปีแล้ว และมีการพบแพทย์เป็นประจำ ซึ่งการที่รู้ว่าเป็นโรคนี้ แตงโมบอกว่า ต้องหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีว่าเป็นติด ๆ กันหลาย ๆ วันหรือเปล่า ตอนกลางคืนรู้สึกว่าสมองปลอดโปร่ง คิดอะไรได้เร็วกว่าตอนกลางวัน และตอนกลางวันรู้สึกง่วงรู้สึกเพลียหรือเปล่า ถ้าเกิดเป็น    ติด ๆ กัน แนะนำให้พบแพทย์ เขาจะมียาที่ปรับให้เราหลับในเวลาที่ควรจะนอน

แตงโมยอมรับว่า การทำงานไม่เป็นเวลาก็มีส่วนทำให้นอนไม่หลับ เพราะบางทีเพลียมาจากงาน ถ่ายละครเช้ายันเย็น ไม่ค่อยได้คิดอะไรส่วนตัว แต่พอกลับมาบ้านอาจจะต้องกลับมาคิดเรื่องอื่นด้วย เหมือนทำงานไม่เสร็จแล้วก็ต้องแพลนสำหรับวันต่อ ๆ ไป อาการของแตงโมเป็นแบบสองวันถึงจะง่วงที ร่างกายเพลียง่าย ไม่เต็มที่กับงานตอนกลางวัน พอเป็นโรคนี้ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันคือ กลางวันจะทำงานไม่เต็มที่ สมาธิสั้น ความจำไม่ค่อยดี แต่ตอนกลางคืนหัวจะแล่น คิดอะไรได้ง่ายกว่า ตอนกลางวันเราจะถูกรบกวนด้วยความง่วง ส่วนกับคนรอบข้างก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไร เพราะว่าจะไม่ค่อยมีใครรู้ว่าแตงโมเป็นโรคนี้ บวกกับเวลาทำงานทำเต็มที่ เลยจะไม่มีใครสังเกตได้ว่าเธอกำลังเผชิญกับปัญหาโรคนอนไม่หลับอยู่

“โรคนี้คนไทยก็เป็นกันเยอะ คุณหมอก็แนะนำมาว่าถ้าเราง่วงตอนกลางวันเราห้ามหลับ ต้องฝืนให้ถึงตอนกลางคืน อย่างเราดื่มชาหรือกาแฟ หลังเที่ยงมันก็ทำให้เรานอนไม่หลับ  ได้ เราก็ต้องงดเครื่องดื่มพวกนั้น และต้องทานอาหารที่จะช่วยให้เรานอนหลับง่ายขึ้น อย่าง กล้วยหอม โยเกิร์ต นม เพราะจะทำให้เราสบายท้องตอนกลางคืน หลับได้ง่ายกว่าค่ะ เราห้ามทำตามใจตัวเอง เราต้องฝืน ของโมเองก็ปรับไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ อาการตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว ยาก็ทานไม่เยอะค่ะ จะมีเป็นยาช่วยนอน ซึ่งไม่ใช่ยานอนหลับ เพราะการทานยานอนหลับเรามีสิทธิที่จะติดยานั้นด้วย ถ้าเราปรับเวลานอนของเราได้แล้วเราก็สามารถหยุดยาได้”

ข้อแนะนำสำหรับคนที่เป็นโรคนี้ก็อย่าเพิ่งท้อ เพราะแตงโมบอกว่า สามารถหายขาดได้ แต่ต้องปรับพฤติกรรม ช่วงแรก ๆ ก็ต้องรักษากันเป็นระยะ ๆ ไปก่อน เพื่อค่อย ๆ ปรับให้ร่างกายของเราเข้าที่มากขึ้น ที่สำคัญต้องปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเป็นหนัก ๆ แล้วไม่พบแพทย์จะติดเป็นนิสัยที่แก้ยาก กลายเป็นกิจวัตรประจำวัน จะยิ่งยากในการรักษาและใช้เวลานาน และไม่มีความสุขในการทำงาน

อาการนอนไม่หลับ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ขอเพียงรักษาให้ถูกวิธี ปรึกษาแพทย์ ไม่พึ่งยานอนหลับ และหมั่นดูแลสุขภาพ ดวงดาวเหล่านี้จะได้มาสร้างความบันเทิงให้กับประชาชนต่อไป.

ทีมข่าวบันเทิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรโมชั่นเสริมความงาม SKClinics